ทำความรู้จักนักสืบตี๋เหรินเจี๋ย เขาไม่ใช่แค่ชื่อที่คนจีนทุกคนรู้จักกันดี แต่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์
นักสืบตี๋เหรินเจี๋ย ไม่ใช่แค่ชื่อที่คนจีนทุกคนรู้จักกันดี แต่เขายังกลายมาเป็นแรงบันดาลใจของนักเขียนชาวตะวันตกหลายท่าน ตี๋เหรินเจี๋ยมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เขาเกิดในปี 630 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นลูกชายของปราชญ์ ตี๋เหรินเจี๋ยเสียชีวิตในปี พ.ศ. 700 ก่อนคริสตกาล ตำแหน่งสูงสุดก่อนเสียชีวิตของตี๋เหรินเจี๋ยได้เป็นถึง ผู้ว่าการรัฐ ประวัติชีวิตของตี๋เหรินเจี๋ยได้ถูกกล่าวถึงอย่างละเอียดในหนังสือ "ประวัติศาสตร์เก่าสมัยราชวงศ์ถัง" เขียนโดย จิ้วถังซู (Jiu Tangshu) ตีพิมพ์ในปี 945 และใน "ประวัติใหม่ของราชวงศ์ถัง" เขียนโดย ซินถังชู (Xin Tangshu) ตีพิมพ์ในปี 1060 อย่างไรก็ตามยังไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องราวที่แท้จริงของเขาในช่วงเวลาที่เขารับตำแหน่งเป็น ผู้พิพากษาประจำอำเภอ ซึ่งเป็นช่วงผู้คนชื่นชอบ และมีการเล่าเรื่องในหลายรูปแบบ ทำให้เขาได้รับความนิยมมากที่สุด
ผู้พิพากษา ตี๋เหรินเจี๋ย กลายมาเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ชมยุคใหม่ โดยต้องให้เครดิตจากความคิดที่เริ่มมีที่มาจาก นักการฑูตชาวดัชท์ โรเบิร์ต ฟาน กูลิค (Dutch Diplomat Robert Van Gulik [1910-1967]) ในขณะที่เขามาประจำการในประเทศจีนและญี่ปุ่น ฟาน กูลิค ได้ยินเรื่อง นิยายอาชญากรรม ซึ่งผูกพันกับประวัติศาสตร์ในภูมิภาคแถบนี้ทั้งในญี่ปุ่น และจีนอย่างน่าสนใจ และฟานมีความตั้งใจอยากสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการฟื้นคืนความนิยมของคนอ่านต่อนิยายแนวนี้มากขึ้น ฟานเริ่มทำความคิดของเขาให้เป็นจริงโดยการหยิบนิยายภาษาจีนมาแปล และเขาเริ่มแปลนิยายเรื่อง "Dee Goong An" หรือ "คดีที่มีชื่อเสียงของผู้พิพากษาตี๋เหรินเจี๋ย” ที่ถูกแต่งขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ฟาน กูลิคได้สานต่อความหลงใหลในโลกของนักสืบตี๋เหรินเจี๋ยแห่งราชวงศ์ถังที่เขาได้ลงมือแปล และสุดท้าย เขาได้เริ่มลงมือเขียนนิยายชุดเรื่อง ผู้พิพากษาตี๋เหรินเจี๋ย ของเขาเอง (Judge Dee) โดยนิยายจากจินตนาการของ ฟาน กูลิค ได้รับการตีพิมพ์รวมเป็นจำนวน 25 เล่ม โดยนิยายชุดนี้ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในฉบับแปลทั้งในรูปแบบของภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน และต่อมาได้จัดพิมพ์ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาเดิมจากต้นฉบับที่ ฟาน กูลิค ได้แต่งขึ้น
เรื่องราวของตี๋เหรินเจี๋ยในจินตนาการของ นักการฑูตชาวดัชท์ ฟาน กูลิค ครอบคลุมเวลาตั้งแต่ช่วงปี 663 ถึง 681 ก่อนคริสตกาล โดยเรื่องราวในนิยายเริ่มต้นในช่วงที่ตี๋เหรินเจี๋ย ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในเขตมณฑลซานตุง (Shantung) และการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ในสายงานไปยังอีก 4 ตำบลจนถึงช่วงที่ตี๋เหรินเจี๋ยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้พิพากษาแห่งวังหลวง ภาพยนตร์เรื่องแรก Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame (ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ) เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประมาณแปดหรือเก้าปีหลังจากตอนจบในนิยายของ ฟาน กูลิค ส่วนภาพยนตร์เรื่องที่ 2 "Young Detective Dee: Rise of the Sea Dragon" เล่าเรื่องก่อนนิยายชุดนี้ และใน ภาพยนตร์เรื่องใหม่ "Detective Dee: The Four Heavenly Kings" จะเป็นการเล่าเรื่องราวต่อจากภาพยนตร์เรื่องที่สองนั่นเอง
หลังจากผลงานของฟาน กูลิค เรื่องราวการผจญภัยของตี๋เหรินเจี๋ย ยังถูกหยิบมาตีความโดยนักเขียนหลายเชื้อชาติ ตั้งแต่นักเขียนชาวฝรั่งเศส เฟรเดริค เลนอร์มอง (Frédéric Lenormand) ผู้แต่งนิยาย 13 เล่ม และรวมถึงนักเขียนชาวจีน-อเมริกัน จู้ เซียวตี (Zhu Xiaodi) ในเรื่องสั้นเรื่อง "Tales of Judge Dee" (2006) และผลงานจากเอเลนอ คูนี และแดเนียล อัลเทียรี (Eleanor Cooney and Daniel Altieri's) กับนิยายเรื่อง "Deception: A Novel of Mystery and Madness in Ancient China" (1994) และนิยายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของ ตี๋เหรินเจี๋ย อย่าง "Stonecutter’s Story"(1988) ของนักเขียนเฟรด ซาเบอฮาเกน และยังพบได้ในนิยายวิทยาศาสตร์คลาสสิกเรื่อง "The Diamond Age" (1995) ของนีล สตีเฟนสัน (Neal Stephenson)
หลังจากการเตรียมงานมา 5 ปี ภาพยนตร์เรื่อง Detective Dee ภาคใหม่พร้อมแล้ว ที่จะกลับมา และจะทำให้คุณต้องทึ่งกับภาพในจอแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อนในโรงภาพยนตร์ 23 สิงหาคมนี้
ตัวอย่างภาพยนตร์