ภาพยนตร์ 9 เรื่องเยี่ยม ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 เคยเสด็จมาทอดพระเนตรในโรงภาพยนตร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงสนพระทัยในการถ่ายภาพและถ่ายภาพยนตร์ตั้งแต่วัยเยาว์ โดยได้ทรงเก็บเงินส่วนพระองค์และซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์ด้วยพระองค์เองตั้งแต่มีพระชนมายุที่น้อย และทรงนำมาบันทึกภาพยนตร์ส่วนพระองค์ในวโรกาสต่าง ๆ หลายครั้ง นอกจากนั้นยังทรงสนพระทัยในการเสด็จทอดพระเนตรภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์ไทยภาพยนตร์ต่างประเทศ หรือแม้แต่ภาพยนตร์การกุศล โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรที่โรงภาพยนตร์ได้นับ 100 เรื่อง
และในวันนี้จึงมาขอนำเสนอภาพยนตร์ 9 เรื่องที่พระองค์ท่านได้เคยเสด็จไปทอดพระเนตรที่โรงภาพยนตร์ และเป็นภาพยนตร์ที่ดีควรค่าแก่การรับชม มาไว้ให้ลองไปเลือกชมกัน และเป็นการรำลึกถึงพระองค์ท่านอีกด้วย
1. สันติ-วีณา
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 30 ธันวาคม 2497 โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์
ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ใช้การถ่ายทำในระบบฟิล์มสี 35 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้คุณภาพของแสงสีที่สวย เสียงที่ชัดแจ๋วโดดเด่นมากกว่าหนังเรื่องใด ๆ ในยุคนั้น และยังดังไกลจนไปคว้ารางวัลจากงานภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 1 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยคว้ามาได้ 3 รางวัลคือ ถ่ายภาพยอดเยี่ยม, กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และ ได้รับรางวัลพิเศษจากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ที่มอบให้กับภาพยนตร์ที่มีการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่น
สันติ-วีณา เป็นผลงานการกำกับของ ทวี ณ บางช้าง เป็นเรื่องราวของ สันติ ชายหนุ่มตาบอดที่ได้พบรักกับ วีณา หญิงสาวที่มอบความรักให้กับเขาด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่างไรก็ตามความรักของทั้งคู่กลับไม่สมหวังเมื่อ ไกร คู่หมั้นของวีณาเข้ามาเป็นอุปสรรค
2. Spartacus
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 23 มีนาคม 2504 โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นในยุคที่โรมันเฟื่องฟูช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล ยุคนั้นพวกทาสต้องทำงานหนัก อดอยาก ถูกเฆี่ยนโบยหากไม่เชื่อฟัง และถูกขายต่อไปให้กับใครก็ได้หากราคาเป็นที่พึงพอใจ ผู้ชายใช้แรงงาน ผู้หญิงทำงานทุกอย่างที่ได้รับคำสั่ง และเมื่อมีลูก ลูกก็จะเป็นทาส และถูกขายออกไปเป็นทาสตลอดชั่วลูกชั่วหลาน สืบเช่นนี้ไปไม่มีสิ้น
สปาร์ตาคัสซึ่งได้เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาส และถูกขายต่อไปเป็นแรงงานในเหมืองแห่งหนึ่ง จากการทำงานหนักและช่วยเหลือเพื่อนทาสที่กำลังลำบาก สปาร์ตาคัสถูกลงโทษด้วยการมัดไว้กลางแดดจนกว่าจะตายไปเอง ก่อนที่จะถูกขายต่อให้พ่อค้าทาสที่ชื่อบาเทียตัส และถูกนำตัวไปที่คาปัว ทั่นั่น ทาสอย่างสปาตาคัสต้องเรียนรู้การต่อสู้อย่างหนักสำหรับการประลอง เพื่อความสนุกสนานของคนดู และเขาจะต้องหาทางปลดแอกจากการเป็นทาสของตนเองให้ได้
3. Psycho
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 12 เมษายน 2504 โรงภาพยนตร์พาราเมาท์
ภาพยนตร์แนวระทึกขวัญจิตวิทยาเรื่องที่โด่งดังและเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดของอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก สร้างจากนวนิยายของ โรเบิร์ต บล็อช เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมและวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในช่วงปีที่เข้าฉาย อีกทั้งยังเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับคำชมว่าเป็นภาพยนตร์ที่เพียบพร้อมไปด้วยศิลปะและความบันเทิงไปพร้อมกันและยังเป็นภาพยนตร์ที่มีประเด็นให้วิเคราะห์ตีความทางจิตวิทยาอย่างที่ไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนทำได้มาก่อน เนื้อเรื่องมีเพียงว่า ตัวเอกหญิงได้โขมยเงินเจ้านายแล้วพยามขับรถหลบหลีจนหลงทางแล้วมาเจอโรงแรมเก่าแห่งหนึ่งจึงตัดสินใจพักที่นี่และก็มีเรื่องไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
4. Lawrence of Arabia
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 28 ตุลาคม 2506 โรงภาพยนตร์ควีนส์
มหากาพย์ภาพยนตร์สงครามที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เล่าเรื่องราวของ ที. อี. ลอว์เรนซ์ (โทมัส เอดเวิร์ด ลอเรนซ์) ทหารชาวอังกฤษที่ใช้ชีวิตในอาหรับ ได้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าชายไฟซาล (ไฟซาล บิน อัล-ฮุสเซน บิน อาลี อัล-ฮาเชมี, ต่อมาคือ กษัตริย์ไฟซาลที่ 1 แห่งซีเรียและอิรัก) ในช่วงการปฏิวัติอาหรับ เพื่อปลดแอกจากจักรวรรดิออตโตมัน-เติร์ก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๖๑ (ค.ศ. 1916 – 1918) หนังเรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ไปได้มากถึง 7 สาขา รวมทั้ง "ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม" และ "ผู้กำกับยอดเยี่ยม"
5. Goldfinger
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 10 กรกฎาคม 2507 โรงภาพยนตร์เมโทร
ภาพยนตร์แฟรนไชส์ลำดับที่ ๓ ในตระกูล เจมส์ บอนด์ 007 และได้ "ฌอน คอนเนอรี่" กลับมารับบทเจมส์ บอนด์ เป็นครั้งที่ 3 รวมทั้งได้รับรางวัลออสการ์สาขาลำดับเสียงยอดเยี่ยม อีกด้วย และที่สำคัญเร่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ "โกโช อาโอยาม่า" นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง "ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน" ที่ชื่นชอบมากจนหยิบไปแนะนำบนปกหนังสือการ์ตูนของตนเอง
เจมส์ บอนด์ได้รับมอบหมายให้เกาะติด ออริค โกลด์ฟิงเกอร์ มหาเศรษฐีผู้คลั่งไคล้ในทองคำเป็นพิเศษ บอนด์ตามรอยโกลด์ฟิงเกอร์จากไมอามี่ไปถึงสวิตเซอร์แลนด์ ที่นั่นบอนด์ไปพบเงื่อนงำเกี่ยวกับปฏิบัติการ Operation Grandslam แต่เขาก็พลาดท่าถูกโกลด์ฟิงเกอร์จับตัวไว้ได้ บอนด์ต่อรองเรื่องปฏิบัติการดังกล่าวจนถูกจับตัวกลับมาที่อเมริกาอีกครั้ง และเขาพบว่ากัปตันสาว พุซซี่ กาลอร์ และทีมนักบินหญิงของเธอคือส่วนหนึ่งในปฏิบัติการนี้ ซึ่งหากโกลด์ฟิงเกอร์ทำสำเร็จ จะสร้างความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจโลกอย่างใหญ่หลวง และคนที่ได้รับผลประโยชน์เต็มๆ คือ โกลด์ฟิงเกอร์
6. The Sound of Music
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 29 ตุลาคม 2508 โรงภาพยนตร์กรุงเกษม
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 29 ตุลาคม 2508 โรงภาพยนตร์กรุงเกษม
ภาพยนตร์ในตำนาน จากการประพันธ์ของ Rodgers และ Hammerstein's และกำกับโดย Robert Wise นำแสดงโดย Julie Andrews และ Christopher Plummer ที่ส่งให้ทั้งคู่โดยเฉพาะ Andrews โด่งดังเป็นพลุแตกไปทั่วโลก ซึ่งหนังได้ดัดแปลงจากละครเวทีบรอดเวย์ ซึ่งบทเพลงถูกประพันธ์โดย Richard Rodgers และ Oscar Hammerstein II และคว้ารางวัลมากมายรวมถึงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
หนังดัดแปลงมาจากเรื่องจริงที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ มาเรีย สาวคอนแวนต์แม่ชีฝึกหัดที่มีนิสัยแตกต่างจากคนอื่น เป็นตัวของตัวเอง สดใส ร่าเริง และชอบทำตัวแหกคอก ได้ถูกมอบหมายให้ออกจากคอนแวนต์มาดูแลลูกๆ ทั้ง 7 คนของผู้กอง ฟอนแทรปป์ พ่อหม้ายนายทหารของออสเตรีย ที่ดูแลลูกๆ อย่างเคร่งครัดเหมือนกับทหาร ทำให้เด็กๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้ฟังเพลง หรือเล่นสนุกสนาน และการมาของมาเรียนั้นได้ทำให้บรรยากาศภายในบ้านเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยการนำความสดใสร่าเริงและเสียงเพลงมาให้บ้านหลังนี้
7. เงิน เงิน เงิน
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 28 ธันวาคม 2508 โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตร์
ภาพยนตร์ระดับตำนานที่รวบรวมนักแสดงไทยชื่อดังของยุคนั้นไว้อย่างคับคั่ง รวมนักแสดงได้มากกว่า 60 ชีวิต เช่น มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์, ชรินทร์ นันทนาคร, สุมาลี ทองหล่อ, สุเทพ วงศ์กำแหง, อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ฯ บทเพลงประกอบที่ใช้ในเรื่องก็ได้ครูเพลงไทยฝีมือดี 15 ชีวิตมาช่วยแต่งและเรียบเรียงบทเพลง เช่น หยาดเพชร - แต่งคำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร, แต่งทำนองโดย สมาน กาญจนผลิน แค่คืบ - แต่งคำร้องและทำนองโดย สง่า อารัมภีร์ เงิน เงิน เงิน - แต่งคำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล, แต่งทำนองโดย นารถ ถาวรบุตร อารามบอย - แต่งคำร้องโดย แก้ว อัจฉริยะกุล, แต่งทำนองโดย เวส สุนทรจามร มาร์ชลูกหนี้ - แต่งคำร้องโดย อาจินต์ ปัญจพรรค์, แต่งทำนองโดย นารถ ถาวรบุตร เป็นต้น และเรื่องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติในปี 2555 ด้วย
เรื่องราวของขุนหิรัญ (อบ บุญติด) นายทุนเงินกู้หน้าเลือด ได้สั่งให้หลานชายที่เพิ่งจบจากเมืองนอก ตุ๊ อรรคพล (มิตร ชัยบัญชา) เอาสัญญาเงินกู้ไปขู่บังคับให้ชาวบ้านจ่ายเงินต้นและดอกไม่เช่นนั้นจะยึดหนี้ ซึ่งอรรคพลเมื่อได้ไปพบกับชาวบ้าน และได้รับรู้วิธีการของลุง จึงฉีกสัญญา แล้วรวมกลุ่มตั้งวงดนตรีแก๊งค์เด็กวัดอารามบอย เพื่อทำธุรกิจเปิดกิจการไนท์คลับ ต่อสู้กับท่านขุน
8. Doctor Zhivago
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 1 ธันวาคม2509 โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย
Doctor Zhivago สร้างจากนวนิยายของบอริส ปาสเตอร์แน็ก นักเขียนเลื่องชื่อชาวรัสเซีย เป็นเรื่องราวชีวิตของนายแพทย์ยูริ อันเดรเยวิช ชิวาโก ซึ่งเกิดในรัชสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกเกณฑ์ไปเป็นแพทย์ประจำกองทัพเมื่อพระเจ้าซาร์ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของชีวิตนับครั้งไม่ถ้วนหลังเกิดการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เพื่อล้มล้างระบอบกษัตริย์ แล้วพรรคบอลเชวิค นำโดยวลาดิมีร์ เลนิน ยึดอำนาจการบริหารประเทศ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นเพียงปีเดียวก็เกิดสงครามกลางเมืองยาวนาน 4 ปีระหว่างกองทัพบอลเชวิคกับผู้ต่อต้าน พอเลนินตายในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน ผู้สืบทอดอำนาจ ก็นำพาประเทศไปสู่ความเป็นเผด็จการสุดขั้วถึง 30 ปี นอกจากชีวิตจะถูกพัดพาไปด้วยมรสุมการเมืองดังกล่าวแล้ว ดร.ชิวาโกยังต้องเผชิญกับมรสุมในใจด้วย เพราะเขามีความรักที่ลึกซึ้งกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาตน และทั้งคู่ก็มีความสัมพันธ์กันทั้งๆ ที่เขายังไม่ได้เลิกกับภรรยา โศกนาฏกรรมชีวิตจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นำแสดงโดย โอมาร์ ชาริฟ นักแสดงชาวอียิปต์ซึ่งโด่งดังสุดขีดในฮอลลีวูด รับบท ดร.ชิวาโก จูลี่ คริสตี้ นักแสดงหญิงผู้เก่งกาจชาวอังกฤษ รับบท ลาริสซา "ลาร่า" อันติโปวา คนรักของ ดร.ชิวาโก เจอรัลดีน แชปลิน (ลูกสาวของชาร์ลี แชปลิน) รับบท ทอนย่า โกรเมโค ภรรยาของ ดร.ชิวาโก
9. สุริโยทัย
พระองค์เสด็จทอดพระเนตรในวันที่ 12 สิงหาคม 2544 โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
ภาพยนตร์แห่งสยามประเทศ ที่รวบรวมนักแสดงชื่อดังและทีมผู้สร้างฝีมือดีไว้มากที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง กับการกำกับของ หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล
ณ อาณาจักรกรุงอโยธยาซึ่งมีการผลัดเปลี่ยนแย่งชิงราชบัลลังก์เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัย พร้อมทั้งต้องเผชิญศึกกับประเทศพม่าอีกด้วย โดยเน้นนำเสนอถึงวีรเกียรติความหาญกล้าของวีรสตรีไทยนาม " พระศรีสุริโยไท" เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒.(พิศาล อัครเศรณี). สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๐๗๒.(ค.ศ. ๑๕๒๙).ซึ่งเป็นปีที่ดาวหางฮัลเลย์ปรากฏ พระอาทิตยาจึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม หน่อพุทธางกูร ทุกพระองค์เสด็จย้ายจากพิษณุโลกไปประทับ ณ กรุงศรีอยุยาเมืองหลวง พระเฑียรราชา.(รับบทวัยหนุ่มโดย ศรัณยู วงศ์กระจ่าง).และ.พระ สุริโยไท.(รับบทวัยสาวโดย คุณหญิง ม.ล. ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี).มีโอรสธิดาทั้งสิ้น ๕ พระองค์ คือเพระราเมศวร.(เกียรติศักดิ์ ศักดานุภาพ)., พระมหินทร.(อภิญญ์ รัชตะหิรัญ)., พระบรมดิลก .(ชมพูนุท เศวตวงศ์)., พระสวัสดิราช.(พิมลรัตน์ พิศลยบุตร).และ.พระเทพกษัตรี.(จีระนันท์ กิจ ประสาน).ประทับอยู่ ณ วังชัย ดำรงอิสริยยศเป็นพระเยาวราช